ติดค้างกันไปนานมาก เรื่องบาลานซ์สียังไงดี
ในอดีต สมัยที่การถ่ายทำยังใช้ฟิล์มเนกาทีฟอยู่นั้น จะมีการใช้ฟิล์มเนกาทีฟอยู่หลายชนิดและหลายเบอร์
ฟิล์มแต่ละชนิด แต่ละเบอร์ก็ให้ผลของภาพไม่เหมือนกัน
การนำฟิล์มแต่ละเบอร์มาขึ้นทำงานบนเครื่องเทเลซีน (telecine) จะให้สีเร่ิมต้นไม่เหมือนกัน
ดังนั้นจึงต้องมีทำให้ภาพจากฟิล์มแต่ละเบอร์อยู่ในมาตรฐานเริ่มต้นเสียก่อน
ปกติแล้วจะใช้ฟิล์มเทสต์ของโกดักเป็นค่าตั้งต้น ซึ่งจริงๆ ควรจะมีฟิล์มเทสต์ทุกเบอร์ฟิล์ม
แต่ในความเป็นจริง แต่ละโพสต์เฮ้าส์จะได้ฟิล์มเทสต์นี้ไปที่ละชิ้นสองชิ้นเท่านั้น
ทำให้ต้องใช้ฟิล์มตั้งต้นนี้ตั้งค่าก่อน แล้วก็ต้องบาลานซ์ภาพจากฟิล์มทุกหมายเลขให้เท่ากันด้วย
When we still shooting on negative films, there were so many film type to choose and use.
Difference type or number of negative films gave difference looks of the images.
So, the colour balance on the telecine suite were very important to make all the images looks as closer as we can.
This was one of the very important of the colour balance.
ในยุคปัจจุบันที่กล้องเป็นระบบดิจิทัล ก็เหมือนกับการทำ white balance จากกล้องนั่นเอง
แต่ก็มีอยู่บ่อยๆ ในหลายๆ งาน ที่ทำ white balance ออกมาแล้วผลของภาพแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด
กล้องบางตัวบาลานซ์ออกมาได้ดี แต่กล้องบางตัวกลับออกมาเป็นสีเหลืองหรือสีฟ้า
หรือแสงอาจจะแตกต่างกันตามช่วงเวลาถ่ายทำ หรือแสงแดดและเมฆรบกวน เป็นต้น
คัลเลอร์ลิสต์ก็ต้องมีพื้นฐานในการปรับแก้สีตั้งต้นในภาพให้ได้ภาพทั้งหมดจากกล้องหลายตัวดูเหมือนกันให้ได้ หรือจากฟุตเทจที่ถ่ายแสงที่แตกต่างกัน เพื่อที่จะขึ้นงาน creative grade ได้อย่างสวยงามและภาพดูต่อเนื่องกัน
Today, the white balance in the digital camera always give us the very good images.
But the mistaken always happened by forget doing it or we need to balance the images between sunlights and cloudy image footages.
This is why the basic colour balance skills still need for colourist.
If you balance it good you will get a very good creative grade with not too much of fixing the images again.
บาลานซ์ยังไงนะ
How to do the balancing?
การบาลานซ์เริ่มต้นคือ การทำให้ภาพดูเป็นธรรมชาติอย่างที่ตาเห็น
สีขาว สีดำ สีผิว สีต้นไม้ สีทุกอย่างถูกต้อง ตรงตามความเป็นจริง
หรือถ้าจะดูจากพาเหรดสโคปก็คือ
สีในส่วนฐานล่างทั้งสามสีเกือบเท่ากัน และสีส่วนยอดทั้งสามสีเกือบเท่ากันโดยใช้ primary tools
เช่น primary wheels หรือ primary bars เป็นต้น
การเร่ิมต้นด้วยเครื่องมือ primary ชนิดต่างๆ เป็นหลักเบื้องต้นสำหรับทฤษฎีแก้สี
เนื่องจากคำว่า primary คือค่าตั้งต้น
ดังนั้น ก่อนที่เราจะทำการแก้สีด้วยเครื่องมือใดๆ จึงควรนึกถึงเครื่องมือเริ่มต้นก่อนทุกครั้ง
แล้วจึงไปทำการสร้างสรรค์ด้วยเครื่องมือ secondary ซึ่งแปลว่าขั้นที่สอง เป็นลำดับถัดไป
The very basic of the balancing the colour is to make the images looks natural as much as we can.
The black, white, skin, tree leafs and everything in that images.
We can check on the parade by make the lowest and highest signals of the three colours equal by using the primary tools such as primary bars or primary wheels.
Then the secondary would be smooth after we get well balance!
เนื่องจากภาพตัวอย่างจาก Blackmagic camera ได้ทำ white balanced จากกล้องมาเป็นอย่างดี
จึงไม่ค่อยจะเห็นความแตกต่างระหว่างภาพ original กับภาพที่บาลานซ์แล้วมากนัก
ไว้จะหาภาพที่ไม่ได้ทำ white balance จากกล้องมาเป็นตัวอย่างอีกทีค่ะ
This is a very good camera white balance example from the Blackmagic camera.
I will find some not good white balance to show you next time if I could show you.
Raw footage
Balanced หลังจากบาลานซ์แล้วสีผิว สีตา สีปากและสีโดยรวมควรจะสะอาด ไม่ดูเลอะ
Balanced: the colour of everything should be clear, for example, skin, eyes, and the milk liquid.
Final Grade : หลังจากที่บาลานซ์ได้ดีแล้ว เราจะสามารถแยกสีต่างๆ ออกมาได้อย่างง่ายดายมากขึ้น
After balanced: we can separate colour easily.
Комментарии