top of page
Writer's pictureyuwarat chanawongse

วิธีใช้ Color Trace ให้ถูกต้อง (The key to accurate shot match in DaVinci Resolve’s Color Trace)

David Hoover

October 15, 2018


ColorTracTM เป็นเรื่องมือหนึ่งที่ใช้บ่อยในโปรแกรมดาวินชีรีโซฟ

เพื่อคัดลอกเกรดจากไทม์ไลน์หนึ่งไปยังอีกไทม์ไลน์หนึ่ง

เมื่อมีซีเควนซ์หนึ่งที่เกรดไว้แล้วบนไทม์ไลน์อื่น และต้องการคัดลอกมายังไทม์ไลน์อีกเวอร์ชันหนึ่ง

อาจจะเป็นเทรลเลอร์ หรือมีคัตอัพเดตในตัวซีเควนซ์เองก็ได้


บนอินเตอร์เฟซของ ColorTrace จะมีแถบ 2 แถบ

โหมดออโตเมติก เพื่อให้ ColorTrace จับคู่คลิปที่คล้ายกันอัตโนมัติ

และโหมด manual จะให้เราจับคู่คลิปที่ต้องการคัดลอกด้วยตัวเอง

ปัญหาในการใช้โหมดออโตเมติกก็คือ เครื่องจะจับคู่คลิปได้ไม่ค่อยดีต้องนักถ้าเซ็ตติงเราไม่ถูกต้อง

ในบทความนี้เราจะพูดถึงการให้โหมดออโตเมติกทำงานได้ถูกต้อง




เนื่องจากบทความนี้เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2018

ดังนั้น หน้าตาของ ColorTrace นี้จึงเป็นของเวอร์ชัน 15 แต่ก็คล้ายกันมาก

เร่ิมด้วยการโหลดทาร์เก็ตไทม์ไลน์ ( target timeline ) หรือไทม์ไลน์ที่เราต้องการใส่เกรดที่ต้องการคัดลอกในหน้าอิดิต ( Edit page )

หลังจากนั้น คลิ้กขวาบนไอคอนไทม์ไลน์ทาร์เก็ตจากกล่อง Media Pool

แล้วเลือก Timeline > Color Trace > Color Trace from Timeline

เลือก source timeline ( อันที่เกรดแล้วและต้องการคัดลอกไปยังอีกไทม์ไลน์หนึ่ง ) บนวินโดว์ที่เปิดไว้

( Note: ควร save โปรเจกต์ก่อนทำ ColorTrace เนื่องจากอาจจะมีปัญหาในการเข้าถึงการเปลี่ยนแปลงบนไทม์ไลน์ในโปรเจกต์ที่ยังไม่ได้ save )


ค่าเริ่มต้นของ ColorTrace จะเป็นโหมดออโตเมติก คลิปที่มีกรอบสีเขียวคือคลิปที่แมชต์ออโตเมติก

กรอบสีส้ม เป็นคลิปที่ยังไม่ได้แมชต์

และคลิปที่แมชต์ได้กับหลายชอตกรอบจะเป็นสีฟ้า

เมื่อเราเลือกคลิปที่กรอบเป็นสีฟ้า source clip จะแสดงภาพที่เป็นไปได้ด้านบน เพื่อให้ดับเบิลคลิ้กที่คลิปที่ถูกต้อง


ปัญหาก็คือ ColorTrace ไม่ได้แมชต์เองถูกต้องเสมอไป

จากกรอบตัวอย่างสีฟ้า ตัวเลือกที่ ColorTrace เลือกให้ (กรอบสีม่วง) ไม่ใช่คลิปที่แมชต์กันได้ถูกต้อง


งงหนักขึ้นไปอีกเมื่อเราดูไปที่คลิปกรอบสีเขียวหมายเลข #3 เนื่องจากควรจะมีการจับคู่ได้เพียงคู่เดียว

แต่ ColorTrace กลับจับคู่กันได้แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด

เกิดอะไรขึ้นกันกรณีนี้กันนะ?




ด้านล่างของไทม์ไลน์ทาร์เก็ต จะมีกล่องให้เปรียบเทียบข้อมูลของ source กับ คลิปปลายทาง

ชื่อทั้งสองคลิปแตกต่างกันมาก

จึงเห็นได้ชัดว่า ColorTrace ไม่ได้ใช้ชื่อไฟล์ในการจับคู่




ที่จริงแล้ว การจับคู่ไทม์โค้ดเป็นวิธีการเดียวอยู่ ณ ตอนนี้ ถึงจะไม่ถูกต้องที่สุดก็เถอะ

ด้วยวิธีการใช้ข้อมูลง่ายๆ แบบนี้ เมื่อมีไทม์โค้ดที่เหลื่อมกันอยู่จึงทำให้ ColorTrace ตัดสินใจจับคู่กันให้

(ด้วยตรรกะของการอิดิต เช่น edit points และความยาวของแต่ละคลิปที่อาจจะใช้แตกต่างกันเมื่ออยู่คนละเวอร์ชันของซีเควนซ์)


มีข้อมูลอีกชุดซึ่งอยู่ด้านบนของกล่องข้อมูลที่ขาดหายไปอย่างสิ้นเชิง นั่นคือ Reel name

นี่เป็นกุญแจไขปัญหา

ColorTrace ได้รับการออกแบบมาเพื่อเวิร์กโฟลว์งานฟิล์มและเทปซึ่งเป็นขั้นตอนการทำงานในอดีต

ที่ใช้วิธีแยกแยะด้วยชื่อรีลและไทม์โค้ด

ยังไม่ได้ (หรือได้แล้ว?) ปรับให้เข้ากับการทำงานแบบใช้ชื่อไฟล์แบบปัจจุบัน


เพื่อแก้ปัญหานี้ เราต้องการคัดลอกให้ชื่อไฟล์ไปอยู่บนชื่อรีล

ทำได้โดย Project Setting > General Options

เปิดการทำงานโดย Conform Options > Assist using reel names from the: > Source clip filename

หลังจากที่คุณสั่งงานเสร็จ เมตาดาต้าของรีลของคลิป ก็จะปรากฏเป็นชื่อไฟล์

สามารถตรวจสอบได้โดยการดูที่รีลคอลัมน์ในหน้า Media Pool ที่ตั้งค่าไว้




เราสามารถเปลี่ยนการตั้งค่าได้ตลอดเวลา

หลังจากเปิดโปรเจกต์ใหม่ แล้วออกจาก ColorTrace เพื่อไปตั้งค่าโปรเจกต์ใหม่

save โปรเจกต์เสร็จก็กลับไปที่ ColorTrace ใหม่


ในตอนนี้ความผิดพลาดจากข้างต้นได้หมดไปแล้ว

ColorTrace จับคู่ใหม่โดยใช้ทั้งชื่อรีลและไทม์โค้ด

คัตที่ก่อนหน้านี้เคยมีกรอบสีฟ้า เช่น คลิปที่ #4 ตอนนี้ได้จับคู่ได้ถูกต้องแล้ว

ชอตกรอบสีเขียวที่เคยจับคู่ผิด เช่น คลิปที่ #3 ตอนนี้เปลี่ยนเป็นกรอบสีส้มแล้ว แสดงได้ถูกต้องแล้วว่าไม่มีคลิปที่เหมือนกันบนไทม์ไลน์ต้นทาง




ถึงตอนนี้โหมดออโตเมติกก็ทำงานได้อย่างถูกต้อง

สามารถไว้ใจกับกรอบสีเขียวของ ColorTrace

ที่เหลือก็จัดการกับคลิปกรอบสีฟ้า (ที่อาจจะมี 2 คลิปหรือมากกว่าที่ใช้ชื่อไฟล์เดียวกัน) ก่อนที่จะวางเกรดลงบนทาร์เก็ตไทม์ไลน์


เคล็ดลับสุดท้าย : บางครั้งธัมป์เนลใน ColorTrace แสดงผลเป็นสีเทาแทนที่จะเป็นภาพของชอตนั้น

เพื่อแก้ปัญหานี้ให้ไปที่ Color Page ที่ธัมป์เนลไหนก็ได้แล้วเลือก “Update all thumbnails”

เมื่อกลับไปที่ ColorTrace อีกครั้งคลิปจะแสดงผลเป็นภาพได้อย่างถูกต้อง



เกี่ยวกับผู้เขียน : Mr. David Hoover

David Hover is a freelance colorist working in Paris, France. He teaches video technology and VFX at the French national film school, La Fémis, and is a Master Trainer for Blackmagic Design DaVinci Resolve.


เกี่ยวกับผู้แปล : ยุวรัตน์ ชนะวงศ์

Freelance DI colorist,

Certified Trainer, DaVinci Resolve16


233 views0 comments

Kommentarer


bottom of page