บทความนี้แปลจาก บทความของคุณ David Hover, freelance colorist ทำงานอยู่ที่ปารีส
เป็นครูสอน video technology และ VFX ที่ French national film school, La Fémis
และยังเป็น Master Trainer for Blackmagic Design DaVinci Resolve อีกด้วย
เนื่องจากเห็นว่ามีประโยชน์นำมาแปลและแบ่งปันกันอ่าน หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้ใช้งาน
ดาวินชี รีโซฟ ในประเทศไทยเรา
หากท่านใดต้องการอ่านต้นฉบับ ภาษาอังกฤษ
สามารถตามไปอ่านได้ที่
I translated this article of Mr. David Hover, a freelance colorist working in Paris, France. He teaches video technology and VFX at the French national film school, La Fémis, and is a Master Trainer for Blackmagic Design DaVinci Resolve
If you interest to read this in English version please visit directly this url :
And if Mr.David Hover have a chance to see this, I would say millions thanks for a very smart and easy understanding article. I translated this article just for share with the DaVinci Resolve user in Thailand. There is no any commercial things at all.
อาจจะต้องเปิด DaVinci Resolve เพื่อลองทำตามวิธีด้านล่างต่อไปนี้ เพื่อทำความเข้าใจฟังชันก์
OpenFX (OFX) ให้มากขึ้น
มาเริ่มกันเลย
ต่อเนื่องจากบทความตอนที่ 1 (Color Management - Part 1)
จากนี้ไปจะเป็นการแก้ปัญหาที่เราต้องเจอ
ถึงแม้ว่าจะตั้งค่า Color Management ถูกต้องแล้วก็ตาม
แต่ผลลัพธ์ที่ได้อาจดูไม่ค่อยดีเท่าไหร่เมื่อเทียบกับการใช้ LUT
ภาพด้านล่างนี้เป็นตัวอย่างของ log ฟุตเทจจากกล้อง Arri Alexa
Log footage
Arri LUT applied
Color Managed
ขาวที่จ้าเกินไปและดำที่ดำไม่สนิทในภาพไม่ใช่ข้อผิดพลาดจากการทำงานของ Color Management
แต่เป็นการออกแบบการทำงานที่เรียกว่า Color Space Trasform
และการทรานสฟอร์มนี้ไม่ได้หมายถึงการลดหรือปรับแต่ง
จากคัลเลอร์สเปซใหญ่กว่าให้พอดีกับคัลเลอร์สเปซที่เล็กกว่า
แต่หมายถึงการจับคู่ด้วยเครื่องมือที่เทียบเท่ากัน
ปลายทางอะไรก็ตามที่อยู่นอกขอบเขตคัลเลอร์สเปซคือสัญญาณที่หลุดจากช่วงคัลเลอร์สเปซนั้น
จากตัวอย่างข้างต้น ภาพที่ถ่ายจากกล้อง Arri Alexa สามารถเก็บรายละเอียดไฮไลต์ได้กว้างกว่า
คัลเลอร์สเปซที่ใช้แสดงค่า เช่น Rec709 2.4 ซึ่งมีผลทำให้สัญญาณภาพฉีก (blow out)
แต่ก็ไม่ได้ตัดรายละเอียดอะไรในภาพออกไป
Color Management จะไม่ตัดรายละเอียดอะไรออกไป เราเพียงแค่ต้องปรับแต่งเพิ่มด้วยตัวเองอีกนิดหน่อย เท่านั้น....
การทรานสฟอร์มของคัลเลอร์สเปซ: ภาพที่ถ่ายจากกล้องกู้คืนได้ด้วย log image ขอบเขตไฮไลต์อยู่นอกขอบเขตคัลเลอร์สเปซที่ใช้แสดง
LUTs จากกล้อง ไม่ได้เพียงแค่แปลงคัลเลอร์สเปซเท่านั้น แต่ยังลดและปรับแต่งให้เท่ากัน
คัลเลอร์สเปซจากกล้องจะได้รับการปรับใหม่ทั้งหมดเพื่อให้สอดคล้องกับคัลเลอร์สเปซแสดงผล
สัญญาณอะไรก็ตามที่ฉีก เกินจากช่วงใช้จะถูกบีบอัดลงให้อยู่ในช่วง
และสัญญาณส่วนที่อยู่ในช่วงก็จะถูกบีบอัดเช่นกันเพื่อให้พอดีสำหรับคัลเลอร์สเปซน้ัน
(สำหรับ LUTs จากกล้องบางตัวเท่านั้น อย่างไรก็ตาม มาตรฐาน LUTs จากกล้อง Blackmagic จะมีการทรานฟอร์มแต่จะไม่มี map )
การ mapping หลังจากการทรานสฟอร์มคัลเลอร์สเปซ ที่มีการบีบอัดสัญญาณที่อยู่นอกช่วงให้สามารถอยู่ในคัลเลอร์สเปซได้
สำหรับ Color Management แล้ว เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ใกล้เคียงกัน จำเป็นต้อง map ได้ด้วย
ตั้งแต่เวอร์ชัน 14 ดาวินชีรีโซฟ ได้จัดเตรียมเครื่องมือไว้มากมายเพื่อการนี้
วิธีที่ 1 - Gamut Mapping OFX
วิธีแรกที่ใช้สำหรับ OFX เรียกว่า Gamut Mapping
ถึงชื่อจะเป็น OFX ที่น่าจะสร้างไว้สำหรับ satuaration ที่หลุดออกไปนอกช่วง (Gamut Mapping)
แต่ก็ทำไว้สำหรับความสว่าง (Tone Mapping ) และตัวเลือก Gamma ที่ทำมาไว้ให้เราเลือก
คัลเลอร์สเปซที่เราต้องการแมปกับความสว่าง (luminance) ด้วย
เมื่อเราใส่ OFX ที่โนดแล้ว เพียงแค่เลือก “Simple” ที่ “Tone Mapping Method” เท่านี้ก็สำเร็จเสร็จสิ้น
ไม่มีไฮไลต์ที่สว่างเกินไปอีกแล้ว เหลือแค่ดำที่ยังไม่ดำเท่าที่ควร
แต่ก็สามารถจัดการได้ด้วยการเปลี่ยน “Gamma option” เพื่อใช้ Timeline
เมื่อถึงตรงนี้ เราก็จะได้ไอเดียสำหรับเปิดใช้งาน “Saturation Compression”
ใน “Gamut Mapping Mathod”
เพื่อควบคุมค่า saturation ที่หลุดออกนอกคัลเลอร์สเปซแล้ว
Tone mapped with “Simple” only
Gamma set to “Use Timeline”
Final Setting
เราทำอะไรลงไปบ้างนะ?
ตัวเลือก Simple ใน Tone Mapping เป็นการจัดเคิร์ฟคอนทราสให้เป็นรูปตัว S
เป็นการบีบอัดทั้งในส่วนไฮไลต์และชาโดว์
การออกแบบคล้ายๆ กับ Lut ของ Arri เพื่อ remap จากคัลเลอร์สเปซใหญ่กว่าไปยังคัลเลอร์สเปซเล็กกว่า
คอนทราสเคิร์ฟนี้เป็นการที่ทำให้ OFX ทำงานคล้ายกับการทำงานของ LUT
การทำงานบีบอัด (compressed) ด้วย OFX ควรจะทำก่อนการทำนอร์มอลเกรดดิง (Normal Grading)
ซึ่งแตกต่างจาก LUTs ที่ควรจวางไว้ที่โนดท้ายสุดของการเกรด
ส่วน OFX ควรจะวางไว้ที่โนดแรกของการทำงาน
ดังนั้น หากเราต้องการใช้วิธีการแปลงสัญญาณด้วยวิธีใช้ OFX
ควรจะวางไว้ที่โนดแรกสุดเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
เมื่อคุณตั้งค่า OFX แล้ว เราสามารถบันทึกเกรด และคัดลอกไปยังคลิป log ทุกคลิปในซีเควนซ์ ได้
ไม่ว่าจะเป็นกล้องอะไร (Sony, Blackmagic, Arri, Cannon, RED, Panasonic และอื่นๆ)
โดยการปรับตั้งค่าเพียงครั้งเดียว
เนื่องจากการทรานสฟอร์มของคัลเลอร์สเปซสำหรับกล้องแต่ละตัว
ได้รับการปรับตั้งแล้วจาก Input color space ที่เราจัดการทำกับฟุตเทจไปแล้วตั้งแต่ตั้งแต่ ตอนที่ 1
สิ่งที่เราตั้งทำกับ Gamut Mapping OFX คือ การเพิ่ม mapping สำหรับอะไรก็ตาม
ที่เกินจากช่วงคัลเลอร์สเปซไป
บางครั้งอาจจะพบว่าที่ไม่ได้ใช้ช่วง Tonemapping ทั้งหมดเนื่องจากอาจจะมืดไป
แต่ก็เพียงแค่ยก gain ขึ้นเท่านั้น
ถ้าต้องการควบคุมการปรับตั้ง mapping แค่บางคลิป เราสามารถสลับใช้ Tone Mapping ได้
ด้วยการใช้ Luminance Mapping แล้วปรับระดับ Max Input Luminance
ให้ระวังการใช้ maximum input lever ด้วย เนื่องจากภาพจะถูกตัดรายละเอียดส่วนที่เราทิ้งไว้ให้อยู่เกินช่วงที่คัลเลอร์สเปซที่ใช้
วิธีที่ 2 - Color Space Transform OFX
วิธีนี้เป็นการใช้ OFX อีกตัวหนึ่งที่มีตัวควบคุม mapping เช่นกัน คือ Color Space Transform OFX
เราสามารถใช้ map สัญญาณภาพได้ แต่ผลลัพธ์ที่ได้สำหรับกรณีนี้จะไม่เหมือน
หรือมีประสิทธิภาพดีเช่นการใช้ Gamut Mapping OFX
สิ่งที่ Color Space Transform OFX ทำได้ดี คือ งาน stand-alone อื่นที่ไม่ใช่การ mapping
การใช้งาน stand-alone คือ การที่เราไม่ต้องคลิกขวาตั้งค่า Input Color Space ให้กับฟุตเทจทั้งใน
มีเดียพูล และหน้า Color เราไม่ทำอะไรเลยก็เท่ากับการสั่งให้เป็นค่าเริ่มต้นที่ Rec709 2.4 อยู่แล้ว
Input Color Space จะถูกกำหนดไว้ใน Color Space transform OFX อยู่แล้ว
เรากำหนดการใช้งานได้ทั้ง “Color Space” ( ซึ่งก็คือ gamut - โปรดอ่านคำอธิบายใน
footnote ท้ายตอนที่ 1 ) และ “Gamma”
เก็บ Output Color Space และ แกมมา ไว้เป็น ใช้ตาม Timeline ที่เป็นค่าตั้งต้น
แค่เปลี่ยน Tone Mapping Method เป็น Simple
และเปิดการใช้งาน Saturation Mapping Method ก็ได้แล้ว
ส่วนของขั้นตอนการทำงานอื่น จะเหมือนวิธีที่ 1 ทุกอย่าง
เพียงแค่เปลี่ยน Input Color Space และ Input Gamma เมื่อต้องการคัดลอกโนดไปยังคลิปที่ถ่ายด้วยกล้องอื่นที่ต่างออกไป
Final settings
Footage unassigned in the Media Pool
Color Space Transform OFX applied
การเข้าถึงการทำงานแบบ stand-alone นี้ OFX จะเป็นตัวทำงานเอง
ไม่จำเป็นต้องเปิดการใช้งาน Color Management ใน Project Settings
นอกจากว่าต้องการทำงานในคัลเลอร์สเปซอื่นที่ไม่ใช่ค่าตั้งต้น Rec709 2.4
หรือต้องการ deliver ไปยังคัลเลอร์สเปซอื่น
หากต้องการเปิดการใช้งาน Color Management หลังจากที่เริ่มเกรดสีงานไปแล้ว
อย่าลืมว่า ไม่ควรเปลี่ยน Timeline Color Management ไปจาก Rec709 2.4
( ดูคำอธิบายใน Color Management ตอนที่ 1 )
Tone และ Gamut mapping ใน Project Settings
Project Settings สำหรับ Color Management ก็มีเครื่องมือสำหรับ mapping ด้วย
ผลลัพธ์ที่ได้จากวิธีนี้จะไม่เหมือนกับสองวิธีที่กล่าวมาแล้วเสียทีเดียว
แต่ก็มีข้อดีอยู่มากโดยเฉพาะสำหรับอิดิตเตอร์ เพราะมีผลกับฟุตเทจทั้งหมดในโปรเจกต์
ทุกคลิปในมีเดียพูลจะได้รับการ map ทั้งหมด ถึงจะไม่สมบูรณ์แบบเท่า 2 วิธีที่กล่าวมากแล้ว
แต่เราก็ไม่ต้องใส่ OFX ใหม่ทุกครั้งที่เจอคลิปใหม่ในไทม์ไลน์
ถ้าต้องการใช้ Tone Mapping ใน Project Settings ควรต้องลองใช้ตัวเลือกหลายๆตัวหน่อย
เพราะการทำงานด้วยวิธีนี้จะทำงานแตกต่างจากการทำงานของ OFX
เช่น ตัวเลือก Simple จะคำนวนการทำงานบนพื้นฐานจากระดับ Luminance สูงสุดในไทม์ไลน์
ที่เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่สุดสำหรับฟุตเทจ Log และได้รับการตั้งค่าระหว่า 300 ถึง 500 nits
หลังจากนั้นถึงจะตีกลับมาที่ตัวเลือก Simple
ข้อควรระวังสำหรับวิธีการทำ Tone Mapping ใน Project Settings ด้วยวิธีนี้
คือ สิ่งที่เราเลือกจะมีผลกับฟุตเทจทั้งหมด รวมทั้งคลิปที่เป็น Rec709 2.4 อยู่แล้วด้วย
Avery Peck ได้ทำวิดีโอเกี่ยวกับการทำงาน Color Management จากโปรเจกต์บน YouTube ได้ดีมาก
Legalizing saturation
เคล็ดลับสุดท้ายมาจากคัลเลอร์ลิสต์ Donovan Bush
สำหรับฟังก์ชัน Saturation Mapping ใน Gamut Mapping OFX
ซึ่งมีความสำคัญกับทุกโปรเจกต์
ไม่ใช่เพียงแค่เป็นการจัดการสีเท่านั้น แต่ยังเป็นการจัดการบีบอัด Saturation
ที่อยู่นอกช่วงคัลเลอร์สเปซเริ่มต้นลงมาให้อยู่ในช่วงคัลเลอร์สเปซที่ใช้
เรียกอีกอย่างว่าการ “legalizes” ความอิ่มสี ( saturation )
คือการบีบอัดสัญญาณที่เกินจากคัลเลอร์สเปซที่ใช้ลงมาให้พอดีกับขอบเขตของ Rec.709 2.4
หรือคัลเลอร์สเปซที่เราต้องการเอาต์พุต
ส่วนนี้สำคัญสำหรับทุกงานเกรดสี ไม่เพียงแค่ฟุตเทจที่เป็น log เท่านั้น
แต่ผมยังทำให้เป็นระบบบนไทม์ไลน์โนด เพื่อให้ทำงานกับทุกคลิปบนซีเควนซ์ที่ทำงาน
สิ่งที่คุณต้องทำก็คือ เปิดใช้งานมัน ก็เท่านั้น
OFX จะควบคุมเลเวลสูงสุดให้อยู่ในระดับเดียวกับ knee ( จุดที่เริ่มคอมเพรซ )
แต่จากประสบการณ์ของผม เราไม่จำเป็นต้องทำการปรับแต่งอะไร แค่ใช้การตั้งค่าเริ่มต้นก็พอ
นี่ไม่ได้หมายความว่าเราจะไม่ต้องคอยระวังสัญญาณความอิ่มสีที่ฉีกเกินไปอีกแล้ว
อาจจะยังมีหลุดบางสีที่อิ่มตัวเกินไปอยู่ เนื่องจากเป็นการบีบอัด ไม่ใช่การจำกัด
แต่ OFX ก็ทำงานให้เราได้ดีมากกว่า 95%
เป็นการบีบอัดที่สมูธและสะอาดกว่าการใช้เคิร์ฟ sat-sat
และทั้งหมดนี้ก็เป็นเรื่องราวทั้งหมดของบทความทั้งสองตอนเกี่ยวกับ Color Management
ผู้เขียน (และผู้แปล) หวังว่าจะช่วยให้คุณๆ เกรดงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและง่ายขึ้นจากเครื่องมืออันแสนทรงประสิทธิภาพนี้
A footnote to clarify Rec709 gamma
มีความสับสนกันอยู่ระหว่าง Gamma ที่แตกต่างกันของ Rec709
ค่าแกมมาเคิร์ฟสำหรับเซนเซอร์กล้องจะอยู่ประมาณ 1.9 ซึ่งเป็นค่าที่ค่อนข้างเบา
เทียบกับ Color Management ในรีโซฟได้เป็น Rec709(Scene)
สำหรับการแสดงผลจะมีค่าแกมมาเคิร์ฟที่ใช้เป็นประจำอยู่สองค่า คือ
2.2 สำหรับการรับชมในสภาพแวดล้อมที่มีแสงสว่างเพียงพอ
เช่น ในออฟฟิส (เทียบได้กับแกมมาของ sRGB)
2.4 สำหรับการรับชมในสภาพแวดล้อมที่มืดกว่า
เช่น ห้องนั่งเล่นตอนหัวค่ำ (แต่ไม่ใช่มืดเหมือนในโรงภาพยนตร์)
ค่ามาตรฐานสำหรับการออกอากาศทางโทรทัศน์คือ Rec709 2.4 หมายถึง Rec709 บนแกมมา 2.4
เมื่อรีโซฟพูดถึง Rec709 เฉยๆ จะหมายความถึง Rec709 (Scene)
ถ้าต้องการทำงานบน Rec709 2.4 จะต้องตรวจทานให้แน่ใจว่าเลือกตัวเลือกที่มี 2.4 ด้วย
นั่นคือ เหตุผลว่าทำไมการตั้งค่า Gamma วิธีที่ 1 จะต้องใช้ตัวเลือก Timeline หรือ (มี 2.4 ด้วย)
การใช้การตั้งค่าเริ่มต้นที่ Rec709 จะทำให้รีโซฟคิดว่าเราต้องการ map กับค่าความสว่างที่ Rec709 (Scene)
ซึ่งจะทำให้ black ดูลอยเกินไป
อ่านกันมาจนถึงตรงนี้ หวังว่าจะเพิ่มเติมความเข้าใจในการทำงานกับ DaVinci Resolve ได้มากขึ้น
ขอให้มีความสุขกับการทำงานกันทุกคนค่ะ❤️
Comments