top of page

เครดิตในงานภาพยนตร์

Updated: Dec 15, 2022

เครดิตในภาพยนตร์จะมี 2 ช่วง คือ เครดิตเปิด หรือ opening credits และ เครดิตท้าย หรือ end credits เป็นการรวบรวมรายชื่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับภาพยนตร์เรื่องนั้นๆ ทั้งหมด เพื่อเป็นการให้เกียรติกับผู้มีส่วนร่วมในชิ้นงานนั้นทุกคน

เหมือนจะไม่สำคัญ แต่เป็นงานที่ต้องถูกต้องทุกอย่าง ทั้งการสะกดชื่อทีมงาน การเรียงลำดับเครดิต การวางโลโก้ทั้งของผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย สปอนเซอร์และผู้มีส่วนร่วมในชิ้นงานนั้นๆเพื่อความเข้าใจของผู้อ่านมากขึ้น

บางที อาจจะมีคนรอดู end credits เพิ่มมากขึ้นบ้างก็ได้

There are 2 positions credits in films, opening and end credits depends on where should it be. It's seem like not really important part of the movie but we cannot spell any wrong words.




Film Credits: Everything You Need to Know

สิ่งที่จำเป็นต้องรู้ เกี่ยวกับฟิล์มเครดิต


ฟิล์มเครดิต หรือเครดิตในภาพยนตร์ มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อให้ความสำคัญกับบุคคลากรที่ใช้ทักษะและทำงานหนัก ทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลัง ซึ่งจะมี speacialist หรือผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ร่วมมือทำงานหลากหลายอย่างเพื่อสร้างภาพยนตร์เรื่องหนึ่งออกมา

ดังนั้น เมื่อคุณกำลังทำงานภาพยนตร์สักโปรเจกต์อยู่ ควรให้เครดิตผู้ร่วมงานทุกคนเมื่อถึงกำหนดส่งรายชื่อ ซึ่งนอกจากรายชื่อของ speacialist หรือผู้เชี่ยวชาญพิเศษรวมถึงทีมงานที่เป็นส่วนหนึ่งของภาพยตร์แล้ว ยังต้องตรวจสอบความถูกต้องตามแนวทางปฏิบัติเครดิตภาพยนตร์ให้ดีที่สุด เช่น รูปแบบและลำดับรายชื่อที่ถูกต้อง เป็นต้น



Who's Who in the Movie Credits ใครเป็นใครในเครดิตภาพยนตร์

วิวัฒนาการของเครดิตภาพยนตร์

ในช่วงแรกๆของอุตสาหกรรมภายตร์ เครดิตจะแสดงเฉพาะชื่อเรื่องช่วงต้นเรื่องเท่านั้น ในเวลาต่อมา ผู้ชมเริ่มไปชมภาพยนตร์บ่อยขึ้น เริ่มจำนักแสดงบางคนได้ และกลายเป็นแฟนคลับของศิลปินเหล่านั้น หลังจากนั้นไม่นาน ภาพยนตร์ก็เริ่มต้นด้วยรายชื่อนักแสดงสั้นๆ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อ “Opening Credits” ในปัจจุบัน

ในช่วงทศวรรษ 1979s ที่ end credits กลายเป็นเรื่องปกติ ซึ่เป็นผลจาก auteur theory ที่เชื่อว่าผู้กำกับ คือ ผู้รังสรรค์ผลงานหลักที่อยู่เบื้องหลังภาพยนตร์

End credits กลายเป็นมาตรฐานเมื่ออุตสาหกรรมภาพยนตร์เริ่มเปลี่ยนเป็นรูปแบบดิจิทัล ในอดีตใช้แผ่นเซลลูลอยด์ในการทำถ่ายภาพยนตร์ การใส่ end credits ค่อนข้างมีราคาแพง ผู้สร้างภาพยนตร์หลายๆ คนรู้สึกว่าเป็นเรื่องสิ้นเปลืองและไม่คุ้มค่าที่จะใช้เงินเพิ่มกับรายชื่อที่ผู้ชมอาจไม่อยากเห็น เมื่อถึงของการสร้างภาพยนต์ด้วยดิจิทัลฟอร์แมต ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้มีราคาถูกลงและบางครั้ง credits อาจจะยาวเกิน 10 นาทีด้วยซ้ำ



ความสำคัญของเครดิตภาพยนตร์

ในยุคที่ยังไม่มีฟิล์มเครดิต ผู้ชมไม่สามารถทราบชื่อนักแสดงที่ตัวเองชื่นชอบได้ เขาอาจจะจำหน้าของนักแสดงได้แต่ไม่ทราบชื่อของนักแสดง หลังจากที่เริ่มปรากฏฟิล์มเครดิตในภาพยนตร์ แฟนๆ ก็สามารถทราบชื่อจากใบหน้าของนักแสดงที่ตนเองชื่นชอบได้ ทำให้นักแสดงมีชื่อเสียงมากขึ้นและผู้ผลิตรายอื่นๆ สามารถติดต่อเพื่อให้แสดงภาพยนตร์เรื่องอื่นๆ มากขึ้น

นักแสดงไม่ใช่ผู้มีส่วนร่วมในภาพยนตร์เพียงส่วนเดียว ยังมีอีกหลายคนที่มีส่วนร่วมในภาพยนตร์เรื่องนั้นและพวกเขาก็สมควรได้รับการยอมรับจากผลงานของพวกเขาเช่นกัน วัตถุประสงค์ของ end credit ก็คือการแสดงความขอบคุณต่อทีมงานที่มีส่วนร่วมในการผลิดภาพยนตร์เรื่องนั้นๆ

ความยาวของเครดิตแต่ละเรื่องจะแตกต่างกันไปตามขนาดของทีมโปรดักชัน แต่ถึงแม้เครดิตจะยาว 15 นาทีแล้วก็ตาม ผู้สร้างภาพยนตร์ก็ยังอาจจะไม่ได้ใส่ชื่อไปอีกหลายร้อยชื่อ





ใครเป็นผู้ตัดสินใจว่าชื่อใดบ้างที่จะปรากฏในเครดิตภาพยนตร์?

สมาคมภาพยนตร์เป็นผู้ตัดสินใจว่าชื่อใดบ้างที่จะปรากฏอยู่ใน opening credits

ตัวอย่างของสมาคมเหล่านี้ เช่น Screen Actors Guild – American Federation of Television and Radio Artists, Writers Guild of America, and Producers Guild of America เป็นต้น ส่วน end credits บริษัทผู้ผลิตหรือโปรดิวเซอร์เป็นผู้ดูแลรายชื่อส่วนใหญ่ เพื่อสนับสนุนสมาคม โดยมากแล้วโปรดิวเซอร์มักเป็นผู้วางความสำคัญในการให้เครดิตแก่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องมากที่สุดในกระบวนการผลิตภาพยนตร์ ซึ่งการมีส่วนร่วมนี้ อาจจะหมายถึงการอุทิศเวลา ปริมาณงานที่ทำหรือเงินที่ลงทุนไป

บางครั้งนักแสดงอาจจะระบุในสัญญาว่า ต้องการให้ชื่อตนแสดงในเครดิตช่วงไหนและอย่างไร เพื่อหลีกเลี่ยงข้อพิพาทเรื่องเครดิตที่มักเกิดขึ้นบ่อยๆ อีกหลายคนในวงการภาพยนตร์ที่ไม่ได้รับเครดิตในงานของพวกเขา. แต่อาจจะมีชื่อรวมอยู่ใน ภารกิจที่เป็น “Uncredited” อยู่ในหน้า IMDb ของภาพยนตร์



ชื่อใครบ้างที่ได้อยู่ใน Opening Credits และอยู่ในลำดับใด?

ทุกวันนี้ ฟิล์มเครดิตส่วนใหญ่จะอยู่ส่วนท้ายหลังจากที่ภาพยนตร์จบแล้ว แต่ภาพยนตร์ส่วนใหญ่ก็ยังมี Opening Credits อยู่ ซึ่งโดยทั่วไปจะต้องมีรายการต่อไปนี้รวมอยู่ในโครงสร้างด้วย :

โลโก้บริษัท : ส่วนใหญ่แล้ว โลโก้ของสตูดิโอผู้ผลิตและบริษัทผู้จัดจำหน่ายหลักมักจะปรากฏอยู่ก่อนภาพอื่นๆ

ชื่อที่เป็นที่รู้จัก : ถ้าผู้กำกับภาพยตร์เป็นผู้ได้รับการยกย่องอย่างสูง เช่น สตีเวน สปีลเบิร์ก เครดิตต่อจากนั้นอาจจะเป็น “A Steven Spielberg Film” ไม่งั้นก็อาจจะเป็นรายชื่อนักแสดงหนึ่งถึงสามคนอยู่ในลำดับถัดไป

นักแสดงสมทบ : หลังจากชื่อเรื่อง ก็จะเป็นการปรากฏของชื่อของนักแสดงสมทบที่มีบทบาทสำคัญในภาพยนตร์

ทีมงานคนสำคัญ : ต่อมาก็เป็นชื่อของทีมงานที่สำคัญที่ลำดับอาจแตกต่างกัน มักรวมถึง casting director, costume designer, music composer, associate producers, editor, production designer, visual effects supervisor, art director, photography director, executive producer, producer, and writer.

เครดิตทีมงานนี้เริ่มต้นด้วยรายชื่อที่สำคัญน้อยที่สุดและจบด้วยชื่อที่สำคัญที่สุด ถ้าชื่อของผู้กำกับไม่ได้ขึ้นหลังจากโลโก้บริษัท ก็จะปรากฏอยู่ท้ายสุดของชื่อทีมงาน





ตัวอย่างการจัดเรียง Opening Film Credits แบบทั่วไป :

  1. PRODUCTION COMPANY presents (distributor)

  2. a PRODUCTION COMPANY production (producer)

  3. a FILMMAKER film

  4. Film Title

  5. Lead Cast

  6. Supporting Cast

  7. Casting Director

  8. Music Composer

  9. Costume Designer

  10. Associate Producers

  11. Editors

  12. Production Designer

  13. Director of Photography

  14. Executive Producer

  15. Producer

  16. Writers

  17. Director


มีใครบ้างใน End Credits และเรียงลำดับอย่างไร?

ปกติแล้ว End Credits จะยาวกว่า Opening Credits ชื่อในเครดิตท้ายเรื่องจะเรียงลำดับดังต่อไปนี้

ผู้กำกับ: End Credits จะเริ่มต้นด้วยชื่อผู้กำกับสำหรับ bookend ที่สมบูรณ์แบบ

ผู้เขีบนบท : หากผู้เขียนบทเป็นผู้กำกับด้วย เครดิตจะรวมวลี "เขียนบทและกำกับโดย" เพื่อลดความซ้ำซ้อน

โปรดิวเซอร์และผู้อำนวยการสร้าง: หลังจากนั้นจะเป็นชื่อโปรดิวเซอร์ ตามด้วยผู้อำนวยการสร้าง เครดิตเหล่านี้มักจะแสดงแยกกันบนหน้าจอ โดยปรากฏขึ้นทีละรายการ

นักแสดง: ชื่อของนักแสดงอาจแสดงเป็นรายบุคคลหรือเป็นส่วนหนึ่งของเครดิตการเลื่อน อาจเรียงตามลำดับตัวอักษรหรือตามลักษณะที่ปรากฏหรือความนิยม

ทีมงาน : หัวหน้าแผนกมักจะถูกตั้งชื่อก่อนลูกทีมที่ทำงานภายใต้การดูแลของพวกเขา

อื่นๆ: เครดิตตอนจบอาจรวมถึงเพลงที่ใช้ในภาพยนตร์ ผู้สนับสนุนการผลิต ขอขอบคุณเป็นพิเศษ และข้อจำกัดความรับผิดชอบทางกฎหมาย

เครดิตสำหรับบุคคลที่ทำหลายตำแหน่ง :

หากมีทีมงานในทีมที่มีหน้าที่ทำหน้าที่หลายอย่าง เช่น นักเขียน/ ผู้กำกับ) อย่าใส่ชื่อบุคคลนั้นซ้ำหลายครั้ง ให้รวบเป็นบรรทัดเดียวและวางไว้ในตำแหน่งที่ “สำคัญกว่า”

การพิจารณา "ความสำคัญ" ใน opening credits อาจเป็นเรื่องท้าทาย ในบางกรณี เครดิตบางเรื่องอาจถือว่ามีความสำคัญมากกว่าเนื่องจากประเภทของภาพยนตร์

ตัวอย่างเช่น นักออกแบบท่าเต้นอาจได้รับเครดิตเปิดในภาพยนตร์เต้นรำที่ให้ความสำคัญทางดนตรีหรือผู้ควบคุมแอนิเมชั่นในภาพยนตร์แอนิเมชั่น



โปรดิวเซอร์จะทำอย่างไร ให้ผู้ชมนั่งดู End Credits จนจบ?

Opening Credits มักจะดูง่ายกว่า End Credits เนื่องจากผู้ชมจะรอชมภาพยนตร์ ส่วน End Credits น้ันจะมีหลังจากชมภาพยนตร์เสร็จแล้วจึงทำให้ผู้ชมไม่ค่อยสนใจดูจนจบ อย่างไรก็ตาม โปรดิวเซอร์ภาพยนตร์ได้ค้นพบวิธีสร้างสรรค์เพื่อให้ผู้ชมนั่งชมเครดิตจนจบ เทคนิคเหล่านี้ได้แก่ การเพิ่มแอนิเมชั่นสนุกๆ ซาวด์แทร็กที่น่าสนใจ และการใช้ฉากที่ถูกตัดออกไป หรือซีนอะไรก็ได้ เช่น ปาร์ตี้ที่ตลกขบขัน หรืออาจจะ บางฉากจากภาคต่อไปของภาพยนตร์

ตัวอย่างการเรียงลำดับความสำคัญของตำแหน่งใน End Credits

Director

Writers

Producer

Executive Producer

Lead Cast

Supporting Cast

Director of Photography

Production Designer

Editor

Associate Producers

Costume Designer

Music Composer

Casting Director

ส่วนเครดิตท้ายที่เหลือมักเริ่มต้นด้วยบุคลากรฝ่ายโปรดักชัน จากนั้นก็เป็นแผนกต่างๆ เช่น กล้อง, G&E, แต่งหน้า/ทำผม, ตู้เสื้อผ้า, แผนกศิลปะ ฯลฯ รายชื่อแผนกจะเริ่มต้นด้วยหัวหน้าแผนก ตามด้วยส่วนที่เหลือของแผนก โดยมีผู้ช่วยแผนกอยู่ในรายการสุดท้าย


หลังจากนั้นก็จะเป็น

  • Editorial

  • Visual Effects

  • Colorist

  • อื่นๆ

แนวทางการลำดับเครดิตภาพยนตร์ที่ควรปฏิบัติ:

  • Unit Production Manager

  • First Assistant Director

  • Second Assistant Director

  • Full Cast/Character List (including lead and supporting cast that have already been credited separately)

  • Stunt Department

  • Production Departments (often listed as “Crew”)

    • Production Personnel

      • Production Supervisor

      • Production Coordinator

    • Art Department

    • Camera

    • Grip

    • Electric

    • Sound

    • Wardrobe

    • Hair/Makeup

    • Set Operations

    • Transportation

    • Special Effects

    • Etc.

  • Post-Production Departments

    • Editorial

    • Visual Effects

    • Colorist

    • Etc.

  • Song Credits

  • Caterer

  • Title Design

  • Special Thanks

  • Logos

    • Guild logos (SAG, DGA, PGA, etc.)

    • Camera, Lenses and Equipment Makers (RED, Adobe, etc.)

  • Locations

    • Shooting Locations (sometimes required by filming permit)

    • Location of Final Sound Mix (“Recorded at…”)

  • Copyright

  • Disclaimer

หลังจากนั้นอย่าลืมตรวจสอบโลโก้ที่ควรใส่ทั้งหมดว่าอยู่ในลำดับถูกต้องเป็นตัวที่ถูกต้องด้วยหรือไม่


หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์และใช้อ้างอิงในการทำงานได้บ้าง ไม่มากก็น้อย ยังมีอีกหลายองค์ประกอบในภาพยนตร์ที่จำเป็นต้องเรียนรู้และเข้าใจ ถือเป็นการเรียนรู้ไปด้วยกัน


รับสอน Color Grading ทั้งแบบเริ่มต้นและขั้นสูง หรืออาจจะเพื่อเพิ่มและและเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงาน ทุกรูปแบบงาน grading จนไปถึงงานภาพยนตร์

หากสนใจกรุณาติดต่อ yuwarat.colourist@gmail.com


แล้วพบกันหัวข้อต่อไปค่ะ






24,519 views0 comments
Post: Blog2_Post
bottom of page